มาตรฐานการปล่อยมลพิษ Euro 7 อาจถึงจุดจบสำหรับรุ่นเครื่องยนต์เผาไหม้อย่างชัดเจนในยุโรป และ กำหนด มาตรฐานใหม่ของรถที่จะต้องลดการปล่อย CO2 มากขึ้นจากเดิม โดยจะส่งผลโดยตรงกับสันดาป รวมทั้งปลั๊กอินไฮบริดต้องเร่งไปใช้รถยนต์ไฟฟ้าให้เร็วขึ้นอีก
เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมาคณะกรรมาธิการยุโรปเสนอมาตรฐาน EURO 7 เข้าสู่การ พิจารณา โดยมาตรฐานหรือข้อบังคับฯ นี้คาดว่าจะสามารถลดมลพิษที่เป็นมาตรฐานขั้นต่ำของ EURO 6 ได้ ถึงร้อยละ 75 และมาตรฐาน EURO 7 นี้จะมีผลบังคับใช้กับตั้งแต่ยานพาหนะที่ใช้ในอตุสาหกรรมเบา รถยนต์ นั่งส่วนบุคคลไปจนถึงรถบบรทุกขนาดใหญ่ และยังรวมไปถึงกลุ่มรถยนต์ไฟฟ้า ที่แม้ไม่มีการปล่อยไอเสียจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์
แต่มาตรฐาน EURO 7 กำหนดให้รถยนต์นั่งไฟฟ้าส่วนบุคคล EV ต้องลดมลพิษหรือ ฝุ่นผงที่เกิดจากการเบรค เนื่องจากน้ำหนักตัวรถที่มากขึ้น อันเป็นผลมาจากแพคแบตเตอรี่ ทำให้ระบบเบรค แรงเสียดทานที่ใช้ในรถยนต์ไฟฟ้า EV ปล่อยมลพิษจำนวนมากออกมา ทั้งยังกำหนดให้แบตเตอรี่ที่ใช้กักเก็บ พลังงานในรถยนต์ไฟฟ้าประเภท EV ปลั๊กอินไฮบริด และไฮบริด ให้มีประสิทธิภาพในการกักเก็บพลังงานไม่ต่ำ กว่าร้อยละ 80 หลังจากการใช้งาน 5 ปีหรือ 100,000 กิโลเมตร และไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 หลังจากการใช้งาน 8 ปีหรือ 160,000 กิโลเมตร
แต่ในยานพาหนะขนาดใหญ่อย่างรถบรรทุกและรถบัส มีการล มาตรฐาน แบตเตอรี่ลงเล็กน้อย โดยกำหนดให้ประสิทธิภาพการกักเก็บพลังงานอยู่ที่ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75 หลังการใช้งาน 5 ปีหรือ 100,000 กิโลเมตร และไม่ต่ำกว่าร้อยละ 65 หลังจากการใช้งาน 8 ปีหรือ 160,000 กิโลเมตร สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคล มาตรฐาน EURO 7 ยังคงกำหนดให้รถยนต์เครื่องยนต์ดีเซลสามารถ ปล่อยก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ หรือ NOx ได้ไม่เกิน 80 มิลลิกรัม/กิโลเมตร
และสำหรับรถยนต์เครื่องยนต์ เบนซินนั้น สามารถปล่อยก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ หรือ NOx ได้ไม่เกิน 60 มิลลิกรัม/กิโลเมตร แต่สำหรับ รถยนต์ขนาดใหญ่ที่ใช้ในเชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรมหนักนั้น จะมีการปรับมาตรฐานการปล่อยก๊าซให้มีความ เข้มงวดมากชึ้น นอกจากนี้คณะกรรมาธิการฯ ยังได้เสนอแนวทางในการตรวจสภาพรถยนต์ที่เข้มงวดมากขึ้น โดยการนำเทคโนโลยีเข้ามาทดแทนมนุษย์ เพื่อลดความผิดพลาดและเพิ่มความโปร่งใสในการตรวจสภาพ กล่าวคือ มาตรฐาน EURO 7 นี้ แสดงให้เห็นถึงความพยายามที่จะปรับปรุงมาตรฐานของรถยนต์ไฟฟ้า และ รถยนต์ขนาดใหญ่ที่ใช้ในอุตสาหกรรมหนักให้มีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
ทันทีที่คณะกรรมาธิการฯ เสนอมาตราฐาน EURO 7 เข้าสู่การพิจารณา นาย Oliver Zipse ประธานสมาคมผู้ผลิตรถยนต์แห่งยุโรป (ACEA) และผู้บริหาร BMW ได้แสดงถึงความกังวลต่อมาตรฐาน ดังกล่าว โดยเห็นว่าประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมที่ได้จากการบังคับใช้มาตรฐานฯ นั้นมีจำกัดมาก และกลับทำให้ ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก และส่งผลต่อราคารถยนต์ที่จะเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มรถยนต์ขนาด ใหญ่อย่างรถบรรทุกและรถบัส ในขณะเดียวกัน กลุ่มองค์กรภาคประชาชนและผู้บริโภคผู้รักษ์สิ่งแวดล้อมกลับ เห็นมาตรฐาน EURO 7 นั้นหละหลวมและมีการปรับปรุงน้อยเกินไป เมื่อเทียบการปรับมาตรฐานจาก EURO 5 เป็น EURO 6
ที่มา:Kreiszeitung.de
ภายในปี 2027 มาตรฐาน EURO 7 สำหรับ รถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด จะมีการปล่อยไอเสีย CO2 ต่อหน่วย G/KM มากกว่ามาตรฐานปัจจุบันถึง 2 ของ EURO6
เพิ่มค่า UF (utility factor) คือตัวเลจอัตราการปล่อย CO2 ของเครื่องยนต์สันดาป และ ในโหมด EV โดยจะมีมาตรฐานที่ 800 ภายในปี 2025 และ เพิ่มขึ้น 4,000 ในปี 2027
เร่งค่ายรถยนต์ในยุโรปให้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ไม่ใช่สันดาป และ ปลั๊กอินไฮบริด
ค่าเฉลี่ยการปล่อย CO2 ของรถ PHEV ประมาณ 130 g/km มาตรการใหม่จะลดค่าเฉลี่ยให้อยู่ที่ 42 g/km คาดว่าต้องเพิ่มแบตเตอรี่ขนาด 30 – 40kWh เข้าไปถึงสามารถลด่านั้นได้ แสดงว่าต้องเป็นรถยนต์ไฟฟ้าเท่านั้น
มีรายงานว่าผู้ผลิตรถยนต์กังวลว่ามาตรฐานการปล่อยมลพิษ Euro 7 ที่กำลังจะกำลังจะมาถึง เป็นการเพิ่มต้นทุนอย่างมากในการปฏิบัติตามข้อกำหนด ถึงจุดที่ไม่สามารถสร้างผลกำไรได้อีก ในการสร้างรถยนต์ไม่มีระบบปลั๊กอินไฮบริดหรือระบบขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า
มาตรฐานยูโร 7 จะช่วยลดการปล่อยมลพิษสูงสุด และเข้มงวดกว่า EURO6 คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในปี 2025 หรืออีก 4 ปีข้างหน้า ตามรายงานของ Autonews Europe
วิศวกรอาวุโสของ VW ระบุว่า หากปล่อยมาตรฐาน EURO7 จากกลุ่มที่ปรึกษาด้านมาตรฐานการปล่อยยานพาหนะของสหภาพยุโรปมีผลบังคับใช้ตอนนี้ ผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติเยอรมันจะต้องเพิ่มราคาสินค้าของตัวเองอย่างแน่นอน
หากขยายเงื่อนไขขอบเขตการทดสอบให้รวมถึงการขับขี่ขึ้นเนิน และการลากจูง นั่นจะเป็นจุดจบของเครื่องยนต์สันดาป แม้แต่ขุมพลังแบบไฮบริด 48V ก็ยังไม่ตอบสนองได้ในทุกสถานการณ์ ณ์” เขากล่าว ในขณะที่ปฏิเสธที่จะอ้างชื่อ
เราจำเป็นต้องพิจารณาความจริงที่ว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถซื้อรถไฮบริดปลั๊กอินใหม่หรือรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ เพราะด้วยราคาที่เพิ่มขึ้น
ไม่มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าการ จำกัด NOx ที่ 30 มก. / กม. เป็นไปได้ในทางเทคนิคในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการขับขี่บนถนนทุกรูปแบบ นอกจากนี้ยังจะต้องปฏิบัติตามขีด จำกัด เดียวกันภายใต้สภาพการขับขี่ที่เหมือนเดิม
ไม่ว่าในกรณีใดก็ตาม บรรทัดฐานใหม่เหล่านี้ หากบังคับใช้เมื่อใด วันของเครื่องยนต์สันดาปที่ไม่ใช้พลังงานไฟฟ้าจะมีจุดจบอย่างแน่นอนบนมาตรฐาน EURO
มาตรฐานไอเสีย EURO 6 เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่เดือนกันยายน 2014 ที่รถยนต์เครื่องยนต์เบนซิน และดีเซล ทุกชนิด ต้องปฏิบัติตาม เพื่อลดค่าไอเสียที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทั้ง ไนโตรเจน อ็อกไซด์ NOx, คาร์บอน มอนน็อกไซด์ CO, ไฮโดร คาร์บอน THC and NMHC และ ฝุ่นละออง PM ซึ่งผลกระทบของเครื่องยนต์ที่สามารถลดค่ามลพิษต่างเหล่านี้ จะทำให้เครื่องยนต์ประหยัดเชื้อเพลิงได้เพิ่มขึ้น และลดมลพิษจาก คาร์บอน ไดอ็อกไซด์ CO2
มาตรฐานไอเสีย EURO6 มีทั้งข้อดีและข้อเสียกล่าวคือ ผู้ผลิตรถยนต์ต้องพัฒนาและวิจัยอย่างต่อเนื่องเพื่อผลิตเครื่องยนต์ที่มีประสิทธิภาพ เทคโนโลยีของเครื่องยนต์รุ่นใหม่ๆ ที่ต้องปรับเปลี่ยนมาตรฐานไปในทุกค่ายในอุตสาหกรรมยานยนต์ และผู้บริโภคอาจต้องจ่ายเพิ่มในช่วงแรกๆ แต่ผู้บริโภคเองสามารถสังเกตได้จากป้ายแสดงอัตราความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง และอัตราการปล่อยค่าไอเสีย ที่ปรับปรุงดีขึ้นกว่าเดิม
สหภาพยุโรป บรรลุข้อตกลง ห้ามขายเบนซิน และ ดีเซล ตั้งแต่ปี 2035
วันที่ 28 ตุลาคม 2022 สหภาพยุโรป ตกลงอย่างเป็นทางการในการห้ามขายรถยนต์สันดาป เบนซิน และ ดีเซล ตั้งแต่ปี 2035 เป็นต้นไป ภายใต้ความร่วมข้อตกลงจากสถาบันหลักสามแห่งของสหภาพยุโรป
สถาบันหลักสามแห่งของสหภาพยุโรป ได้แก่ ฝ่ายบริหาร รัฐสภา และรัฐสมาชิกทั้งหมด ได้ตกลงในแผนการห้ามการขายรถยนต์สันดาป ICE ใหม่ตั้งแต่ปี 2035 เป็นต้นไป โดยอนุญาติให้ขายได้เพียงรถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์เท่านั้น เงื่อนไขดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธิ์ ” FIT FOR 55″
Fit for 55 มีเป้าหมายเพื่อลดการปล่อยมลพิษที่ทำลายสภาพภูมิอากาศลง 55% ภายในปี 2030 เมื่อเทียบกับระดับ 1990 และบรรลุความเป็นกลาง หรือ 100% ของสภาพอากาศภายในปี 2035
ดูเหมือนว่านี้จะเป็นตัวเร่ง ให้ยุโรปปรับตัวอย่างหนัก (ปัจจุบันกำลังปรับตัวอย่างหนักเช่นกัน) เพื่อทำให้เครื่องยนต์สันดาปหายไปโดยมีกรอบเวลา 12 ปี ถึงปี 2035 มีข้อยกเว้นบางประการเนื่องจากผู้ผลิตรถยนต์เฉพาะกลุ่มที่ผลิตรถยนต์ 1,000 ถึง 10,000 คันต่อปี จะได้ยกเว้นอีกหนึ่งปี ถึงปี 2036 และ แบรนด์พิเศษ ที่ผลิตรถยนต์น้อยกว่า 1,000 คันต่อปี จะได้รับการยกเว้น ก่อนที่จะก้าวไปสู่การปล่อยมลพิษเป็นศูนย์
ผู้ผลิตรถยนต์ในยุโรป ต้องพัฒนาเครื่องยนต์สันดาปให้สะอาดมากขึ้น ด้วยการเสริมไฮบริด หรือ ปลั๊กอินไฮบริดเข้าไป ภายในสิ้นทศวรรษนี้ หรือไม่ก็ผลิตไฟฟ้า BEV 100% แม้ว่าข้อตกลงดังกล่าวจะส่งผลกระทบโดยตรงเฉพาะในประเทศในสหภาพยุโรป แต่การตัดสินใจห้ามการขายรถยนต์ ICE ใหม่ ภายในปี 2035 ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า จะมีผลต่อการขายรถยนต์ทั่วโลกของแบรนด์ยุโรปชั้นนำ
ปัจจุบันมีแบรนด์รถยนต์มากมายกำลังอำลา เครื่องยนต์สันดาปอย่าง Jaguar จะยกเลิกขาย ICE ขายในปี 2025 ในขณะที่แบรนด์เครือ Stellantis ทั้งหมด (Alfa Romeo, Peugeot, Citroën, Jeep ฯลฯ) จะเปิดตัว EV รถยนต์ไฟฟ้าล้วนภายใน 7 ปี รวมทั้ง Ford, Volvo, Bentley และ Rolls-Royce , MINI ก็ไปใช้ไฟฟ้าเช่นกัน VW ประกาศเมื่อเร็วๆนี้ว่า จะผลิตเพียงรถยนต์ไฟฟ้าภายในปี 2033
สหภาพยุโรปมีทั้งหมด 27 ประเทศ แต่อีกหลายๆ ประเทศอาจเข้าร่วมในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า อย่างเช่น แอลเบเนีย มอลโดวา สาธารณรัฐมาซิโดเนียเหนือ มอนเตเนโกร เซอร์เบีย ตุรกี และยูเครน ตามที่รายงานโดย Automotive News Europe
ฟรานส์ ทิมเมอร์แมนส์ กรรมาธิการด้านนโยบายการดำเนินการด้านสภาพอากาศของสหภาพยุโรป (EU’s Commission for Climate Action Policy) กล่าวว่า “ผู้ผลิตรถยนต์ในยุโรปได้พิสูจน์แล้วว่าพวกเขาพร้อมที่จะก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำ ด้วยรถยนต์ไฟฟ้าที่มีราคาจับต้องได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เข้าสู่ตลาด ความเร็วที่การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานั้นน่าทึ่งมาก”
Oliver Zipse ประธาน ACEA และ CEO ของ BWM กล่าวว่า “เราตอบรับเงื่อนไขดังกล่าว เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ซึ่งสะท้อนให้เห็นนโยบายของสหภาพยุโรป ที่จะใช้พลังงานหมุนเวียน และ พร้อมพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐฯ และ เอกชน” ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปต้องนำข้อบังคับนี้ไปใช้ในกฎหมายระดับประเทศ ไม่มีแผนห้ามขับรถเครื่องยนต์สันดาป แต่หวังว่าในอนาคตรถยนต์สันดาปจะแทนด้วยรถยนต์ไฟฟ้า
ขอบคุณข้อมูลข่าวสารจาก https://www.car250.com/euro-7.html
Σχόλια